การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ

การขับเคลื่อนกลุ่มมติว่าด้วย “การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ (NCDs)” โดย คณะอนุกรรมการการขับเคลื่อนและติดตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์และสาธารณสุข

สถานที่:

ห้องประชุม 3 (BB401 ชั้น4)

วัน/เวลา:

๑๒ ธันวาคม ๒๕๖๑ 14:00 - 17:00 น.

ความสำคัญ

วิกฤติกลุ่มโรคไม่ติดต่อเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของโลกและของประเทศไทย ซึ่งมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ประกอบด้วย มติ ๑.๖ ยุทธศาสตร์ในการจัดการปัญหาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มติ ๒.๕ ยุทธศาสตร์นโยบายแอลกอฮอล์ระดับชาติ                มติ ๒.๘ การจัดการปัญหาภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน มติ ๓.๖ มาตรการในการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพด้านยาสูบ มติ ๔.๑ ความปลอดภัยทางอาหาร: การจัดการน้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพ มติ ๖.๒ เป้าหมายในการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อของประเทศไทย และมติ ๘.๔ นโยบายการลดบริโภคเกลือและโซเดียม เพื่อลดโรคไม่ติดต่อ (NCDs)

ที่ผ่านมามีการขับเคลื่อนทั้งในระดับนโยบาย และระดับพื้นที่ เช่น การจัดการปัญหาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์นโยบายแอลกอฮอล์ระดับชาติ และกรอบยุทธศาสตร์ ๕ ปี              (พ.ศ.๒๕๕๗ – ๒๕๖๑) มีการตั้งคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับจังหวัด  ส่วนในเรื่องยาสูบ  มีการผลักดัน พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ จัดทำแผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๕๙ – ๒๕๖๒ เป็นต้น ส่วนการจัดการปัญหาภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน มีการจัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติว่าด้วยการจัดการปัญหาภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน มีคณะทำงานจัดทำร่างแผนปฏิบัติการจัดการปัญหาภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน และมีคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนมาตรการเร่งด่วน ๓ มาตรการ ได้แก่ (๑) เร่งรัดการใช้มาตรการลักษณะสีสัญญาณพร้อม                 คำเตือนในอาหารที่มีไขมัน น้ำตาล หรือโซเดียม (๒) ใช้มาตรการทางภาษีและราคา (๓) จัดทำระเบียบว่าด้วยการตลาดเกี่ยวกับอาหารที่มุ่งเป้าหมายไปยังเด็ก และมีผลต่อความรุนแรงของภาวะน้ำหนักเกิน                โรคอ้วน และโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในด้านการจัดการน้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพ มีการผลักดันมาตรการความปลอดภัยทางอาหารเกี่ยวกับการจัดการน้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพ โดยกำหนดปริมาณสารโพลาร์ในอาหารมีได้ไม่เกิน ๒๕% ของน้ำหนัก และมีการลงนามบันทึกข้อตกลง  “นโยบายความปลอดภัยด้านอาหาร :              การจัดการน้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพ” ร่วมกันระหว่าง สช. กระทรวงสาธารณสุข สปสช. สคบ. สสส. และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในการขับเคลื่อนเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อของประเทศไทย มีการตั้งคณะกรรมการบูรณาการยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ รวมทั้งจัดทำ (ร่าง) แผนปฏิบัติการ   บูรณาการยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อในประเทศไทยที่ตอบสนองต่อ ๙ เป้าหมาย (พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๘) และพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อการติดตามประเมินผล ตาม ๙ เป้าหมายฯ ส่วนการลดบริโภคเกลือและโซเดียมเพื่อลดโรคไม่ติดต่อ (NCDs) มีการจัดทำยุทธศาสตร์ลดการบริโภคเกลือและโซเดียม ปี พ.ศ. ๒๕๕๙-๒๕๖๘ และตั้งคณะกรรมการนโยบายการลดบริโภคเกลือและโซเดียมเพื่อลดโรคไม่ติดต่อระดับชาติ เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการลดการบริโภคเกลือและโซเดียม             ของประเทศ

แม้ที่ผ่านมาจะมีความพยายามขับเคลื่อนเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ (NCDs) แต่ปัญหาทางสุขภาพในเรื่องโรคไม่ติดต่อยังคงมีแนวโน้มที่สูงขึ้น ดังนั้นจึงสำคัญยิ่งที่หน่วยงานและภาคีเครือข่าย    ทุกภาคส่วนจะได้มีโอกาสร่วมแลกเปลี่ยนและหาแนวทางที่ชัดเจนในการขับเคลื่อนร่วมกันในระยะต่อไป เวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๑ พ.ศ. ๒๕๖๑ จึงได้จัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ ภายใต้หัวข้อ “การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ (NCDs)” ในวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๔.๐๐ – ๑๖.๓๐ น. ณ ห้องประชุม ๔ (BB401 ชั้น ๔) ศูนย์ประชุมวายุภักษ์  โรงแรมเซ็นทรา           บายเซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ

 

     วัตถุประสงค์

การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะในงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ             ครั้งที่ ๑๑ พ.ศ. ๒๕๖๑ มติว่าด้วย การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดแนวทางที่ชัดเจนในการขับเคลื่อนร่วมกันในระยะต่อไป

 

วิทยากร

  • ศ. นพ. ประกิต วาทีสาธกกิจ        เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่
  • ศ. พญ. วรรณี นิธิยานันท์            นายกสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย
  • นายอำนาจ วิชยานุวัติ                รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
  • นพ. อัษฎางค์ รวยอาจิณ             รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • นพ. วิวัฒน์ โรจนพิทยากร           ผู้อำนวยการศูนย์นโยบายและการจัดการสุขภาพ  คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

 

ผู้ดำเนินรายการ

ผศ. นพ. สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ             คณะแพทย์ศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และประธานเครือข่ายลดเค็ม

 

ช่วงที่ 1

ภาพรวมสถานการณ์โรคไม่ติดต่อ และการขับเคลื่อนกลุ่มมติสมัชชาสุขภาพว่าด้วยการป้องกันโรคไม่ติดต่อ รวมทั้งความเคลื่อนไหวระดับนานาชาติ และมุมมองจากองค์การสหประชาชาติ

(๓๐นาที)

 

๑๔.๐๐ – ๑๔.๐๓ น.      กล่าวนำและแนะนำตัววิทยากร (๓ นาที)

                    โดย ผศ. นพ. สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ  ผู้ดำเนินรายการ

๑๔.๐๓ – ๑๔.๑๓ น.      ภาพรวมสถานการณ์โรคไม่ติดต่อ และภาพรวมการดำเนินงานควบคุมโรคไม่

ติดต่อในปัจจุบัน (๑๐ นาที)

โดย นพ. อัษฎางค์ รวยอาจิณ  

๑๔.๑๓ – ๑๔.๑๘ น.      ภาพรวมการขับเคลื่อนกลุ่มมติสมัชชาสุขภาพว่าด้วยการป้องกันโรคไม่ติดต่อ

(๕ นาที)  โดย นพ. วิวัฒน์ โรจนพิทยากร

๑๔.๑๘ – ๑๔.๒๕ น.      ความเคลื่อนไหวระดับนานาชาติเกี่ยวกับการป้องกันโรคไม่ติดต่อ[1] (๗ นาที)

โดย นพ. อัษฎางค์ รวยอาจิณ

๑๔.๒๕ – ๑๔.๓๐ น.      มุมมองจากองค์การสหประชาชาติเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านโรคไม่ติดต่อของ

ประเทศไทย[2] (๕ นาที)

โดย นพ. วิวัฒน์ โรจนพิทยากร

 


[1] การประชุม the 3rd United Nations High-Level Meeting on the Prevention and Control of Noncommunicable Diseases, 27 กันยายน 2561 และ Political Declaration of the General Assembly on the Prevention and Control of Non-communicable Diseases

[2] ผลการประเมินและข้อเสนอแนะการดำเนินงานด้านโรคไม่ติดต่อของประเทศไทย โดยคณะทำงานร่วมระหว่างหน่วยงานสหประชาชาติว่าด้วยการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ (UN Interagency Task Force on NCDs)

 

ช่วงที่ ๒

จุดแข็ง จุดอ่อน และช่องว่างในการดำเนินงานด้านโรคไม่ติดต่อของประเทศไทย และบทบาทของภาคียุทธศาสตร์ในการดำเนินงานด้านโรคไม่ติดต่อของประเทศไทย (๓๕ นาที)

 

๑๔.๓๐ – ๑๔.๔๕ น.      ภาพรวมของการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อและประเด็นปัญหาความ

                                    เสี่ยงจากการบริโภคยาสูบและสุรา (๑๕ นาที)

  • ปัญหา/ความท้าทาย และการเสริมความเข้มแข็งในการขับเคลื่อน (การมีกลไกร่วม การมีต้นแบบ มาตรการทางภาษี มาตรการกำกับควบคุม นวัตกรรมใหม่ๆ)
  • ทิศทางและประเด็นสำคัญในการขับเคลื่อนเรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ
  • แนวทางการขับเคลื่อนงานโรคไม่ติดต่อร่วมกันในระยะต่อไป

                              โดย ศ. นพ. ประกิต วาทีสาธกกิจ

 

๑๕.๔๕ – ๑๖.๐๐ น.      ภาพรวมของการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อและประเด็นปัญหาการ

                             ออกกำลังกายและอาหาร (๑๕ นาที)

  • ปัญหา/ความท้าทาย และการเสริมความเข้มแข็งในการขับเคลื่อน (การมีกลไกร่วม การมีต้นแบบ มาตรการทางภาษี มาตรการกำกับควบคุม นวัตกรรมใหม่ๆ)
  • ทิศทางและประเด็นสำคัญในการขับเคลื่อนเรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ
  • แนวทางการขับเคลื่อนงานโรคไม่ติดต่อร่วมกันในระยะต่อไป

                              โดย ศ. พญ. วรรณี นิธิยานันท์

           

๑๖.๐๐ – ๑๖.๑๐ น.      ความก้าวหน้าเกี่ยวกับมาตรการทางภาษีในการลดการบริโภคเกลือและโซเดียม

                                    (๑๐ นาที)

  • ปัญหา/ความท้าทาย และการเสริมความเข้มแข็งในการขับเคลื่อน (การมีกลไกร่วม การมีต้นแบบ มาตรการทางภาษี มาตรการกำกับควบคุม นวัตกรรมใหม่ๆ)
  • ทิศทางและประเด็นสำคัญในการขับเคลื่อนเรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ

 

  • แนวทางการขับเคลื่อนงานโรคไม่ติดต่อร่วมกันในระยะต่อไป

                              โดย ผศ. นพ. สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ

 

๑๖.๑๐ – ๑๖.๒๐ น.      บทบาทของกระทรวงศึกษาธิการในการเพิ่มความรอบรู้ของประชาชนต่อโรคไม่

                                    ติดต่อผ่านระบบการศึกษา (๑๒ นาที)

                              โดย นายอำนาจ วิชยานุวัติ  รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

 

๑๖.๒๐ – ๑๖.๒๗ น.      บทบาทของ สสส., สป.สช. และภาคประชาสังคมในการลดโรคไม่ติดต่อ (๘ นาที)

                              โดย นพ. วิวัฒน์ โรจนพิทยากร

 

ช่วงที่ 3         

๑๖.๒๗ – ๑๖.๔๒ น.      เปิดเวทีแลกเปลี่ยนมุมมองความคิดเห็น และตอบข้อซักถาม (๑๕ นาที)

 

ช่วงที่ 4

๑๖.๔๒ – ๑๗.๐๐ น.     บทสรุปทิศทางการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงประเด็นที่ได้จาก

ข้อซักถามของผู้เข้าร่วมประชุม

(๑๘ นาที : วิทยากรและผู้ดำเนินรายการ ท่านละ 3 นาที)